วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สวัสดีค่ะทุกคน




สวัสดีค่ะทุกคน
ก่อนจะเข้าสู่บทเนื้อหาเรามาทำความรู้จักกันก่อน
   






สวัสดีค่ะชื่อนางสาวกัลยพร ภูกิ่งหิน ชื่อเล่น เจน
รหัสนักศึกษา 583410270101

นักศึกษาชั้นปีที่2
สาขาวิชาบรรณรักษ์ศึกษาและภาษาอังกฤษ
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 





                                              แรงบันดาลใจและเป้าหมายชีวิต

         คติประจำใจ : สิ่งที่ยาก และน่าชื่นชม กว่าการเป็นผู้ชนtคือการลุกขึ้นสู่ใหม่ในฐานะผู้พ่ายแพ้
           แรงบันดาลใจ : สตีฟ จ๊อบส์ เพราะเป็นคนที่มุ่งมั่นที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้โลก
          เป้าหมายในชีวิต : จะรอดูป้ายและชุดข้าราชการสีกากีของตัวเอง




                        ข้อมูลการติดต่อ


เบอรฺโทร์ศัพท์ 098-2106711
ถ้าทุกคนอยากรู้จัก เจนมากกว่านี้ก็ติดต่อเจน
ได้ทาง facebookนี้นะค่ะ







สารสนเทศศาสตร์



สารสนเทศศาสตร์








ความหมายสารสนเทศ




     สารสนเทศ คือ ข้อมูล ความรู้ ที่ผ่านการประมวลผล และมีการบันทึกไว้ในสื่อรูปแบบต่างๆ ทั้งสื่อตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์เพื่อการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลกับสารสนเทศมีความสัมพันธ์กัน คือ ข้อมูลถ้าได้ผ่านกระบวนการประมวลผล หรือจัดทำให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย และผู้รับสารสนเทศสามารถนำไปใช้ประโยนช์ได้ขอมูลนั้นก็จะกลายเป็นสารสนเทศ












                          









เข้าสู่เว็บไซต์

บรรณารักษ์คืออะไร




  บรรณารักษ์คืออะไร







         วันนี้เจนมีวิดีโอมาให้เพื่อนๆดูกันนะคะเพื่อที่จะให้เพื่อนเข้าใจมากขึ้นว่าบรรณารักษ์คืออะไร เราไปดูกันเลยนะคะ !!























เข้าสู่เว็บไซต์


บรรณารักษ์


บรรณารักษ์







            บรรณารักษ์ ( librarian) คือ บุคคลที่มีความเป็นมืออาชีพในการจัดการข้อมูลในด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ โดยส่วนใหญ่แล้วบรรณารักษ์มักจะทำงานในห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งห้องสมุดในบริษัทต่างๆ รวมไปถึงโรงพยาบาล บรรณารักษ์มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ที่มาใช้บริการทราบข้อเท็จจริง จัดหาสารสนเทศและค้นทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ทั้งหนังสือ วารสาร เว็บไซต์และสารสนเทศอื่น ๆ พิจารณาหนังสือ นิตยสารภาพยนตร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยการจัดซื้อ จัดการหนังสือและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการ

จรรยาบรรณของบรรณารักษ์



จรรยาบรรณของบรรณารักษ์








        การทำงานด้านบริการสารนิเทศ ผู้ให้บริการจะต้องมีคุณสมบัติที่แตกต่างออกไปจากบรรณารักษ์ด้านอื่น ๆ ดังนั้นสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยจึงได้กำหนดจรรยาบรรณของบรรณารักษ์ไว้ดังนี้


หมวดที่ 1 จรรยาบรรณต่อผู้ใช้
1.ให้คำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้ใช้ก่อนสิ่งอื่นใด
2. ให้ใช้วิชาชีพที่ได้ศึกษามาให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้อย่างเต็มความสามารถ
3.ให้ความเสมอภาคแก่ผู้ใช้โดยไม่คำนึงฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา สังคมและลัทธิการเมือง






   หมวดที่ 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
 1. ไม่ประพฤติหรือกระทำผิดใด ๆ อันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
 2. ต้องศึกษาและแสวงหาความรู้เพื่อให้ตนมีวุฒิเข้าขั้นมาตรฐานที่สถาบันวิชากำหนดไว้และหมั่นเพียรฝึกฝนทักษตลอดจนหาวิธีการใหม่ๆมาใช้ในการปฏิบัติ
 3. ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
 4. ไม่ฝักใฝ่ในการเพิ่มพูนฐานะทางเศรษฐกิจส่วนตนจนเป็นการบั่นทอนการปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบ



หมวดที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
1. ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ ความสามารถและความประพฤติดี
2. ให้ความเคารพและยอมรับในข้อตกลงที่เป็นมติของที่ประชุม
3. รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ
4. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องยึดมั่นในคุณธรรมในการปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่มีอคติในการแต่งตั้งการพิจารณาความดีความชอบและการลงโทษ







              หมวดที่ 4จรรยาบรรณต่อสถาบัน
                        1. รักษาประโยชน์และชื่อเสียงของสถาบันกระทำ การอันใดที่จะเป็นทางทำให้เกิดความเสื่อมเสีย
2. ร่วมมือและปฏิบัติด้วยดีตามนโยบายที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมาเพื่อความก้าวหน้าของสถาบันโดยรวม
3. ไม่พึงใช้ชื่อและทรัพยากรของสถาบันเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือหมู่คณะโดยมิชอบ




 หมวดที่ 5 จรรยาบรรณต่อสังคม
1. บรรณารักษ์ควรเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาท
ภาระหน้าที่ที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่น และการพัฒนาประเทศ
2. พร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของชุมชน ด้วยการใช้วิชาชีพโดยสุจริตและไม่เป็นการเสียหายต่อภาระหน้าที่ที่ปฏิบัติอยู่
3. ควรพยายามป้องกันมิให้กิจกรรมใดๆ ที่เป็นภัยต่อสังคมแฝงไปในการดำเนินงานห้องสมุด













ปรัชญาวิชาชีพบรรณารักษ์




ปรัชญาวิชาชีพบรรณารักษ์








       หมายถึงแนวความคิดหรือแนวทางความเชื่อเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในวิชาชีพบรรณารักษ์ หรือหลักสำหรับยึดถือเป็นแนวในการปฏิบัติ ซึ่งรังกานาธาน บรรณารักษ์ชาวอินเดียได้สรุปแนวปฏิบัติไว้  5 ประการดังนี้


1.  หนังสือมีไว้ใช้ประโยชน์ (Books are for use) หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดจะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ ความคิด ความจรรโลงใจหรือความบันเทิง





2. ผู้อ่านแต่ละคนมีหนังสือที่ตนจะอ่าน (Every reader his book) ห้องสมุดจะต้องพยายามจัดหาหนังสือให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ





3.  หนังสือทุกเล่มมีผู้อ่าน (Every books its reader) ห้องสมุดจะต้องพยายามช่วยให้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดได้มีผู้อ่านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด







4. ประหยัดเวลาของผู้อ่าน (Save the time of the reader) พยายามหาวิธีการต่าง ๆที่จะช่วยให้ผู้ใช้พบกับหนังสือเล่มที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว



5. ห้องสมุดเป็นสิ่งเจริญเติบโตได้ (Library is growing organism)
หรือห้องสมุดเป็นสิ่งมีชีวิต ห้องสมุด จะต้องพยายามจัดหาหนังสือและวัสดุเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ











เข้าสู่เว็บไซต์





บทบาทหน้าที่ของบรรณารักษ์




                       บทบาทหน้าที่ของบรรณารักษ์









1. Public service librarians

บรรณารักษ์ที่ให้บริการทั่วไปในห้องสมุด เช่น บรรณารักษ์บริเวณจุดยืม คืนบรรณารักษ์ที่คอยจัดเก็บหนังสือ สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ให้บริการโดยทั่วๆ ไปของห้องสมุด




2. Reference or research librarians
บรรณารักษ์ที่ช่วยการค้นคว้าและอ้างอิง บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะคอยนั่งในจุดบริการสอบถามข้อมูลต่างๆรวมถึงช่วยในการสืบค้นข้อมูล และรวบรวมบรรณานุกรมให้กับผู้ที่ต้องการทำงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ หรือศึกษาข้อมูลที่ตนเองสนใจสรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ให้คำปรึกษาในเรื่องการสืบค้น และสอบถามข้อมูล


3. Technical service librarians
บรรณารักษ์ที่ให้บริการด้านเทคนิค จริงๆ แล้วผมอยากจะเรียกว่า ?บรรณารักษ์เบื้องหลัง?เนื่องจากบรรณารักษ์กลุ่มนี้จะทำงานด้านเทคนิดอย่างเดียวเช่น การจัดหมวดหมู่หนังสือ (Catalog) หรือให้หัวเรื่องหนังสือเล่มต่างๆนอกจากนี้ยังรวมถึงการซ่อมแซมหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศที่ชำรุดด้วยสรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ด้านงานเทคนิค



4. Collections development librarians
บรรณารักษ์ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หรือเราเรียกง่ายๆ ว่าบรรณารักษ์ฝ่ายจัดหามีหน้าที่คัดสรรทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ที่น่าสนใจและตรงกับนโยบายของห้องสมุดเข้าห้องสมุดบรรณารักษ์กลุ่มนี้จะรู้จักหนังสือใหม่ๆ มากมาย รวมไปถึงการขอรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศจากที่อื่นด้วยสรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่นำหนังสือเข้าห้องสมุด


5. Archivists
นักจดหมายเหตุ เป็นบรรณารักษ์เฉพาะทางมีความรู้ และเข้าใจในเหตุการณ์และเอกสารฉบับเก่าแก่และเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่หายากของท้องถิ่นนั้นๆ หรือชุมชนนั้นๆ เป็นหลักสรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่คุมเรื่องเอกสารหายากและเก่าแก่




6. Systems Librarians
บรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบ บรรณารักษ์กลุ่มนี้มีหน้าที่ดูแลระบบห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลห้องสมุด ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ หรือระบบควบคุมสมาชิกบรรณารักษ์กลุ่มนี้จะดูแลเรื่องเครื่องมือไฮเทคของห้องสมุด สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ไอที




7. Electronic Resources Librarians
บรรณารักษ์ที่ควบคุมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะคล้ายๆ กับบรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบแต่จะยุ่งกับเรื่องสารสนเทศอย่างเดียว ไม่ยุ่งกับโปรแกรมสรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ดูแลข้อมูลในเว็บ หรือในฐานข้อมูล




8. School Librarians, Teacher
บรรณารักษ์ด้านการศึกษา อันนี้แบ่งได้เยอะแยะเช่น อาจารย์ด้านบรรณารักษ์ นักวิจัยบรรณารักษ์ ฯลฯสรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่อยู่สายวิชาการ




วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บรรณารักษ์ยุคใหม่



บรรณารักษ์ยุคใหม่











1. Ask Questions (ตั้งคำถาม)
    - ในขณะที่ถูกสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ อย่าให้คนสัมภาษณ์ถามเราอย่างเดียวบรรณารักษ์ยุคใหม่ควรจะต้องรู้เรื่องของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น ถามคำถามว่าตอนนี้ห้องสมุดมีโครงการไอทีมากน้อยเพียงใด และมีแผนนโยบายของห้องสมุดเป็นอย่างไร



2. Pay attention (เอาใจใส่)
    -แล้วก็เวลาสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ ก็ขอให้มีความเอาใจใส่และสนใจกับคำถาม ที่คนสัมภาษณ์ถามด้วย ไม่ใช่ยิงคำถามอย่างเดียว ในการเอาใจใส่นี้อาจจะแทรกความคิดเห็นของเราลงไปในคำถามด้วย


3. Read far and wide (อ่านให้เยอะและอ่านให้กว้าง)
    -แน่นอนครับ บรรณารักษ์เราต้องรู้จักศาสตร์ต่างๆ รอบตัวให้ได้มากที่สุด



4. Understand copyright (เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์)
     - เรื่องลิขสิทธิ์ถึงแม้ว่าตัวเรื่องจริงๆ จะเกี่ยวกับกฎหมาย แต่มันมีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุดโดยตรงในเรื่องของการเผยแพร่สารสนเทศต่างๆ



5. Use the 2.0 tools (ใช้เครื่องมือ 2.0)
    - ตรงๆ เลยก็คือการน าเอา web 2.0 มาประยุกต์ใช้กับการให้บริหารในห้องสมุดหรือบางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง library 2.0ก็ว่างั้นแหละ ตัวอย่างของการเอาเครื่องมือด้าน 2.0ลองอ่านจากบทความ “10วิธีที่ห้องสมุดนำ RSS ไปใช้


6. Work and Play (ทำงานกับเล่น)
    -อธิบายง่ายๆ ว่าการทำงานอย่างมีความสุข บรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างน้อยต้องรู้จักการประยุกต์การทำงานให้ ผู้ทำงานด้วยรู้สึกสนุกสนานกับงานไปด้วย เช่น อาจจะมีการแข่งขันในการให้บริการกัน หรือประกวดอะไรกันภายในห้องสมุดก็ได้


7. Manage yourself (จัดการชีวิตตัวเอง)
    - บางคนอาจจะบอกว่าทำไมบรรณารักษ์ต้องทำโน้นทำนี่ “ฉันไม่มีเวลาหรอก” จริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าไม่มีเวลา แต่เพราะว่าไม่จัดการระเบียบชีวิตของตัวเอง ดังนั้นพอมีงานจุกจิกมาก็มักจะบอกว่าไม่มีเวลา ดังนั้นบรรณารักษ์ยุคใหม่นอกจากต้องจัดการห้องสมุดแล้ว การจัดการตัวเองก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน



8. Avoid technolust (ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี)
    - ห้ามอ้างว่าไม่รู้จักเทคโนโลยีโน้น หรือเทคโนโลยีนี้ บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องหัดใช้เทคโนโลยีให้ได้เบื้องต้น (เป็นอย่างน้อย)


9. Listen to the seasoned librarians (รับฟังความคิดเห็นของบรรณารักษ์ด้วยกัน)
    -อย่างน้อยการรับฟังแบบง่ายๆ ก็คือ คุยกับเพื่อนร่วมงานดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ในการบริการบรรณารักษ์ต้องช่วยเหลือกัน อย่างต่อมานั่นก็คือ การอ่านบล็อกของบรรณารักษ์ด้วยกันบ้าง บางทีไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ขอให้ได้ฟังความคิดเห็นกันบ้าง



10. Remember the Big Picture  (จดจำภาพใหญ่)
      - ภาพใหญ่ในที่นี้ ไม่ใช้รูปภาพแต่เป็นมุมมองของความเป็นบรรณารักษ์ อุดมการณ์









เข้าสู่เว็บไซต์