บรรณารักษ์ยุคใหม่
1. Ask Questions (ตั้งคำถาม)
- ในขณะที่ถูกสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ อย่าให้คนสัมภาษณ์ถามเราอย่างเดียวบรรณารักษ์ยุคใหม่ควรจะต้องรู้เรื่องของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น ถามคำถามว่าตอนนี้ห้องสมุดมีโครงการไอทีมากน้อยเพียงใด และมีแผนนโยบายของห้องสมุดเป็นอย่างไร
2. Pay attention (เอาใจใส่)
-แล้วก็เวลาสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ ก็ขอให้มีความเอาใจใส่และสนใจกับคำถาม ที่คนสัมภาษณ์ถามด้วย ไม่ใช่ยิงคำถามอย่างเดียว ในการเอาใจใส่นี้อาจจะแทรกความคิดเห็นของเราลงไปในคำถามด้วย
3. Read far and wide (อ่านให้เยอะและอ่านให้กว้าง)
-แน่นอนครับ บรรณารักษ์เราต้องรู้จักศาสตร์ต่างๆ รอบตัวให้ได้มากที่สุด
4. Understand copyright (เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์)
- เรื่องลิขสิทธิ์ถึงแม้ว่าตัวเรื่องจริงๆ จะเกี่ยวกับกฎหมาย แต่มันมีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุดโดยตรงในเรื่องของการเผยแพร่สารสนเทศต่างๆ
5. Use the 2.0 tools (ใช้เครื่องมือ 2.0)
- ตรงๆ เลยก็คือการน าเอา web 2.0
มาประยุกต์ใช้กับการให้บริหารในห้องสมุดหรือบางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง library
2.0ก็ว่างั้นแหละ ตัวอย่างของการเอาเครื่องมือด้าน 2.0ลองอ่านจากบทความ
“10วิธีที่ห้องสมุดนำ RSS ไปใช้“
6. Work and Play (ทำงานกับเล่น)
-อธิบายง่ายๆ ว่าการทำงานอย่างมีความสุข บรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างน้อยต้องรู้จักการประยุกต์การทำงานให้ ผู้ทำงานด้วยรู้สึกสนุกสนานกับงานไปด้วย เช่น อาจจะมีการแข่งขันในการให้บริการกัน หรือประกวดอะไรกันภายในห้องสมุดก็ได้
7. Manage yourself (จัดการชีวิตตัวเอง)
- บางคนอาจจะบอกว่าทำไมบรรณารักษ์ต้องทำโน้นทำนี่ “ฉันไม่มีเวลาหรอก” จริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าไม่มีเวลา แต่เพราะว่าไม่จัดการระเบียบชีวิตของตัวเอง ดังนั้นพอมีงานจุกจิกมาก็มักจะบอกว่าไม่มีเวลา ดังนั้นบรรณารักษ์ยุคใหม่นอกจากต้องจัดการห้องสมุดแล้ว การจัดการตัวเองก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
8. Avoid technolust (ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี)
- ห้ามอ้างว่าไม่รู้จักเทคโนโลยีโน้น
หรือเทคโนโลยีนี้ บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องหัดใช้เทคโนโลยีให้ได้เบื้องต้น
(เป็นอย่างน้อย)
9. Listen to the seasoned librarians (รับฟังความคิดเห็นของบรรณารักษ์ด้วยกัน)
-อย่างน้อยการรับฟังแบบง่ายๆ ก็คือ คุยกับเพื่อนร่วมงานดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ในการบริการบรรณารักษ์ต้องช่วยเหลือกัน อย่างต่อมานั่นก็คือ การอ่านบล็อกของบรรณารักษ์ด้วยกันบ้าง บางทีไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ขอให้ได้ฟังความคิดเห็นกันบ้าง
-อย่างน้อยการรับฟังแบบง่ายๆ ก็คือ คุยกับเพื่อนร่วมงานดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ในการบริการบรรณารักษ์ต้องช่วยเหลือกัน อย่างต่อมานั่นก็คือ การอ่านบล็อกของบรรณารักษ์ด้วยกันบ้าง บางทีไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ขอให้ได้ฟังความคิดเห็นกันบ้าง
10. Remember the Big Picture (จดจำภาพใหญ่)
- ภาพใหญ่ในที่นี้
ไม่ใช้รูปภาพแต่เป็นมุมมองของความเป็นบรรณารักษ์ อุดมการณ์
เข้าสู่เว็บไซต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น